ระยอง-สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านเพ จัดเสวนาหัวข้อ “EEC vs ท่องเที่ยวโดยชุมชน วิถีสู่ความยั่งยืน”

ระยอง-สถาบันพระปกเกล้า ร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านเพ จัดเสวนาหัวข้อ “EEC vs ท่องเที่ยวโดยชุมชน วิถีสู่ความยั่งยืน”

 

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 เวลา 15.00 น.ที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลบ้านเพ ตำบลเพ อ.เมือง จ.ระยอง นายไพรัตน์ อรุณเวสสะเศรษฐ (นายกเทศมนตรีตำบลบ้านเพ) ได้ให้การต้อนรับคณะนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 12 ของสถาบันพระปกเกล้า โดยได้เชิญนางสริญทิพญ ทัพมงคลทรัพย์ (นายกสมาคมท่องเที่ยวเกาะเสม็ด) นายพิศณุ เขมพรรค์ (ผู้ประกอบการในพื้นที่ตำบลเพ) ตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมเสวนา

นายไพรัตน์ อรุณเวสสะเศรษฐ กล่าวว่าขอขอบคุณทางสถาบันพระปกเกล้าที่เลือกลงพื้นที่บ้านเพ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหา ส่วนเรื่อง EEC ในความคิดของผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะนำความเจริญมาสู้พื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นภาคการขนส่งที่ทันสมัย การพัฒนาด้านการสื่อสาร ผมยอมรับว่าปัจจุบันเราประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยว กระทบมากสุด เรามีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวมากมาย แต่ปัจจุบันเกือบจะไม่มีนักท่องเที่ยวมาเลย เพราะวิกฤตโควิด-19 ถือว่าหนักสุดในรอบ 4 ปี

นางสริญทิพญ กล่าวถึงหัวข้อวันนี้ว่า “EEC vs ท่องเที่ยวโดยชุมชน วิถีสู่ความยั่งยืน” ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า EEC คืออะไร EEC คือการกำหนดโครงสร้างพื้นฐานในภาพรวมใช่หรือเปล่า แล้วถามต่อว่ามี EEC แล้วชาวบ้าน ชุมชน ภาคการท่องเที่ยวจะได้อะไร EEC เกิดขึ้นมาก็หลายปี จะมีระบบขนส่งที่ทันสมัยหลายอย่าง แต่ชาวบ้านบางคนยังไม่รู้จัก EEC เลยด้วยซ้ำ เป็นหน้าที่ของภาครัฐต้องทำความเข้าใจ อธิบายให้ประชาชนในพื้นที่ทราบก่อนว่าเมื่อมี EEC เข้ามาจะมีการเปลี่ยนแปลงชีวิตพวกเข้าอย่างไรบ้าง เพราะไม่ว่าเราจะพัฒนาอะไรควรต้องเริ่มต้นที่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ก่อนเป็นอันดับแรก สำหรับปัญหาหลักๆของผู้ประกอบการบนเกาะเสม็ดตอนนี้ก็คือการมีพื้นที่ทับซ้อน อุทยาน และธนารักษ์ ซึ่งยืดเยื้อมานาน

ด้านนายนายพิศณุ เขมพรรค์ กล่าวว่า EEC ที่เราทราบกันก็คือระเบียงเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันก็อยู่แค่ระเบียง ยังไม่ลงบันไดมา เป็นความหวังของผู้ประกอบการถ้าหาก EEC เข้ามาในภาคการท่องเที่ยวน่าจะมีการตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่สะสมอยู่ เพราะในปัจบันการท่องเที่ยวเกาะเสม็ดสร้างรายได้ให้กับประเทศจำนวนมาก แต่ช่วงที่เกิดปัญหาผู้ประกอบการต้องดินรนแก้ปัญหาเพื่อหาทางรอดด้วยตัวเอง หากภาครัฐมีแนวทางอะไรเพิ่มเติมทางผู้ประกอบการก็มีความพร้อมที่จะสนองนโยบายอยู่แล้ว

สำหรับหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการสร้างสังคมสันติสุข ของสถาบันพระปกเกล้านั้น เนื่องจากต้องการแสวงหาความร่วมมือ เพื่อแก้ปัญหาที่มีสาเหตุพื้นฐานมาจากความขัดแย้งในมิติเชิงโครงสร้าง ซึ่งหมายถึงการกระจายทรัพยากรไม่ทั่วถึง ความไม่เป็นธรรมในสังคม การจัดสรรผลประโยชน์ที่ไม่เท่าเทียม ตลอดจนสาเหตุความรุนแรงอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางด้านความคิด ทัศนคติ ความเชื่อ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม

ในปัจจุบัน ประเทศต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ทางสังคมในมิติต่างๆ อย่างต่อเนือง เช่นวิกฤตความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม วิกฤตศรัทธาทางการเมือง วิกฤตโรคระบาดใหม่ วิกฤตความรุนแรงทางสังคม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรยากาสของความสมานฉันท์เริ่มถดถอยการที่จะป้องกันและเปลี่ยนแปลงวิฤตการณ์ความรุนแรงต่างๆ ในสังคม ต้องอาศัยบุคลากรทางสสันติวิธีที่สามารถแปรเปลี่ยนความขัดแย้งไปสู่ทางเลือกที่สร้างสรรค์

เดชา สุวรรณสาร ผสข.ภาคตะวันออก

Related posts