ชลบุรี#นครแหลมฉบัง จัดประชุมประชุมปรึกษาหารือคณะผู้บริหาร เชิญ ดร.คณิศ เลขา EEC แนะพัฒนาพื้นที่ เผยข่าวดี ท่าเรือเฟส 3 เตรียมยื่นนายกตู่ นำเข้า ครม.อีก 2 อาทิตย์

ชลบุรี#นครแหลมฉบัง จัดประชุมประชุมปรึกษาหารือคณะผู้บริหาร เชิญ ดร.คณิศ เลขา EEC แนะพัฒนาพื้นที่ เผยข่าวดี ท่าเรือเฟส 3 เตรียมยื่นนายกตู่ นำเข้า ครม.อีก 2 อาทิตย์

 


ที่ห้องประชุมเมืองท่า ชั้น 2 สำนักงานเทศบาลนครแหลมฉบัง ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายบุญเลิศ น้อมศิลป์ อดีตนายกเทศมนตรีตำบลแหลมฉบัง ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะผู้บริหาร เทศบาลนครแหลมฉบัง เป็นประธานเปิดประชุมปรึกษาหารือคณะผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลนครแหลมฉบัง ครั้งที่ 2/2564 พร้อมด้วยนางจินดา ถนอมรอด นายกเทศมนตรีนครแหลมฉบัง คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมประชุม ในการยังได้เชิญ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เข้าร่วมพบปะพูดคุยกับผู้เข้าร่วมประชุม นอกจากนี้ยังได้เชิญผู้แทนจากภาคเอกชน ประกอบด้วย ท่าเรือแหลมฉบัง บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) การนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และโรงกลั่นไทยออลย์ เข้าร่วมในการประชุมครั้งนี้ด้วย


นายบุญเลิศ น้อมศิลป์ ได้กล่าวขอบคุณ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ที่ช่วยในการผลักดันงบประมาณ จนกำเนิดโครงการก่อสร้างทางแยกจุดตัดทางหลวงหมายเลข 3 กับถนนเมืองใหม่เหนือและถนนนิคมแหลมฉบัง 4 จ.ชลบุรี ด้วยงบประมาณ 177 ล้านบาท ที่จะช่วยลดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนสุขุมวิท ที่ต้องการมุ่งหน้าเข้าไปทำงานในพื้นที่ ท่าเรือแหลมฉบัง และบริษัทกว่า 200 บริษัท ภายในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง โดยไม่ต้องมุ่งหน้าไปเลี้ยวยูเทรินกลับรถ ประดังกันที่บริเวณสี่แยกท่าเรือแหลมฉบัง บางครั้งรถติดยาวเหยียดหลายกิโลเมตร


ดร.คณิศ แสงสุพรรณ กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่ได้มาร่วมประชุมในครั้งนี้ สำหรับโครงการภายใต้การผลักดันงบประมาณของ คณะกรรมการ EEC นั้น มีทั้ง ท่าเรือมาบตะพุด สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งพัฒนาไปมากแล้ว แต่ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 กลับกลายเป็นว่าพัฒนาช้าที่สุด ซึ่งเราเสียเวลาไป กว่า 3 ปี และเสียดายมาก แต่ล่าสุดได้มีการแก้ไขระเบียบสัญญาต่างๆ เป็นที่เรียบร้อย
ทางคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ได้เตรียมยืนเรื่องการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ให้กับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อีก 2 อาทิตย์ เพื่อนำเข้าสู่ ครม.ต่อไป


โดยท่าเรือระยะที่ 3 มีอยู่ 3 เรื่องที่เป็นข่าวดีและเป็นเรื่องใหม่ ท่าเรือแห่งนี้ จะเป็นท่าเรือ ฟลูออติเมชั่น ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 2 ที่ ในโลกเท่านั้น และเราจะเป็นที่ๆ 3 ต่อจาก ท่าเรือ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และข้อดีของการเป็นท่าเรือฟลูออติเมชั่น คือสามารถทำงานได้ 24 ชั่วโมง เพราะว่าไม่ต้องใช้คนงานเยอะ สอดคล้องกับการใช้ระบบ 5 จี เข้ามาช่วยปฏิบัติงาน เช่นการยกตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นลง ผ่านทางลางรถไฟ ซึ่งหากปิดไฟมืดสนิทก็ยังคงสามารถปฏิบัติงานได้ เนื่องจากเป็นระบบ


ในขณะที่เรื่องที่ 2 คือ ระบบรถไฟ ซึ่งเราได้วางระบบไว้ โดยจะใช้การขนส่งทางรถไฟ เป็นส่วนใหญ่ หรือ 80 % และที่สำคัญจะสามารถช่วยลดปัญหาความคับคั่งของปัญหาจราจรในพื้นที่ได้ และเรื่องที่ 3 คือ คอร์เนต ทีริตี้ มาใส่ในท่าเรือแหลมฉบัง โดยเป็นการนำตู้คอนเทนเนอร์มาขนถ่ายผ่านระบบออโตเมติกในท่าเรือแหลมฉบัง ให้เยอะที่สุด เราหวังว่าตู้คอนเทนเนอร์ จาก 11 ล้านทีอียู ในปัจจุบัน จะเพิ่มอีก 7 ล้านทีอียู รวมเป็น 18 ล้านทีอียู ต่อปี และส่งผลให้ท่าเรือแหลมฉบัง ขึ้นเป็นอันดับที่ 15 ของโลก
ส่วนที่มีการสอบถามมาว่า ปัญหาการเดินทางไปยังสถานีรถไฟความเร็วสูง ในพื้นที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และพื้นที่อื่นๆ ถือมีความแออัดเป็นอย่างมาก เกรงว่าจะไปไม่ทัน และตกรถไฟได้


เรื่องนี้ทางคณะกรรมการ EEC ได้มีการวางแผนเพื่อรองรับพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงไว้แล้ว โดยจัดให้มีการลดการใช้รถยนต์เดินทางมายังสถานีรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะเปิดให้มีจุดรับส่งประชาชนขึ้นรถโดยสารสาธารณะ เดินทางไปสถานีรถไฟ ตามจุดต่างๆ ของพื้นที่
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC ได้สนับสนุนเงินลงทุนใน 3 จังหวัด พื้นที่ EEC ในโครงสร้างพื้นฐานไปแล้วกว่า 630,000 ล้านบาท ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่าอีกใน 4 ปีข้างหน้า จะมีการลงทุนอีก 1.66 ล้านล้านบาท ในขณะที่ภาครัฐ ต้องการเพิ่มศักยภาพลงทุนให้เป็นจำนวน 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และชักชวนให้ภาคเอกชนมาลงทุนในพื้นที่ EEC เป้าหมายตั้งไว้ที่ ปีละประมาณ 5 แสนล้านบาท


ในขณะที่เรื่องสุดท้าย เป็นเรื่องของการศึกษา ที่คณะกรรมการ EEC จะพัฒนาไปอีกขั้นสู่ระบบการสร้างอาชีพใหม่ โดยได้มีการพูดคุยกับนายบุญเลิศ น้อมศิลป์ และนางจินดา ถนอมรอด เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการสร้างอาชีพให้กับลูกหลานชาวแหลมฉบัง โดยให้เทศบาลนครแหลมฉบัง เป็นตัวกลางในการเจรจากับทางฝั่งผู้ประกอบการในพื้นที่ ว่าทางบริษัทต้องการบุคลากรที่จบมาหลักสูตรใด ในขณะที่ทางฝั่งวิทยาลัย ในพื้นที่ก็ต้องเปิดหลักสูตรที่ทางบริษัทต้องการ เพื่อให้ลูกหลานชาวแหลมฉบัง ได้ศึกษาเรียนรู้ และจบมามีงานทำ ไม่ต้องย้ายถิ่นฐานไปทำงานที่อื่น
โดยถอดรูปแบบการพัฒนาโครงสร้างการศึกษาของ สนามบินอู่ตะเภา มาใช้ในพื้นที่แหลมฉบัง ซึ่งปัจจุบันนี้ สนามบินอู่ตะเภา มีแรงงานที่จบการศึกษาตามหลักสูตร ที่สนามบินต้องการ มากกว่า 80 % และที่สำคัญเป็นคนในพื้นที่ ได้ทำงานและใช้ชีวิตในพื้นที่ ไม่ต้องย้ายถิ่นฐาน

ชำนาญ/ศรีราชา

Related posts