จ.นครนายก : “ครอบครัวปศุสัตว์…ทำด้วยใจ…ทำให้ไว…ทำได้จริง”ปศุสัตว์จังหวัดนครนายกแนะนำ“หญ้าไนล์”พืชอาหารสัตว์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการอาหารสัตว์ใช้ในการเลี้ยงสัตว์

จ.นครนายก : “ครอบครัวปศุสัตว์…ทำด้วยใจ…ทำให้ไว…ทำได้จริง”ปศุสัตว์จังหวัดนครนายกแนะนำ“หญ้าไนล์”พืชอาหารสัตว์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการอาหารสัตว์ใช้ในการเลี้ยงสัตว์

26 พฤษภาคม 2566 นายนิธิศ จิตนิยมหัวหน้ากลุ่มส่งเสริมพัฒนาการปศุสัตว์ พร้อมด้วยนางสาวสุกัญญา อินทรสนธิ ลงพื้นที่ฟาร์มควายนมบ้านกุดรัง ต.สาริกา อ.เมือง จ.นครนายก เพื่อดูพื้นที่ทำการทดลองปลูกเเปลงหญ้าไนล์ เเละเป็นที่ปรึกษาการปลูกหญ้าไนล์ให้กับนายภูธร หมื่นวงค์ ที่นำท่อนพันธุ์จากศรีสะเกษ เข้ามาทดลองปลูกเพื่อขยายพันธุ์เเละเป็นอาหารสัตว์ นายสุนทร รัตนจำรูญ ปศุสัตว์จังหวัด นครนายกได้เปิดเผยว่าจังหวัดนครนายกได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำนาหญ้าแพงโกล่า เพื่อเป็นแหล่งอาหาร หยาบคุณภาพซึ่งปัจจุบันมีเนื้อที่การปลูกของเกษตรกรกว่า 1,100 ไร่แล้ว และนอกจากหญ้าแพงโกล่าแล้ว สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด นครนายกจึงขอแนะนำหญ้าไนล์ซึ่งเป็นพืชอาหารสัตว์ทางเลือกอีกหนึ่งชนิดที่กำลังดำเนินการเพาะขยายท่อนพันธุ์สู่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ของจังหวัดนครนายก

คุณสมบัติเด่นของหญ้าไนล์ ดังนี้ หญ้าไนล์เป็นหญ้าอายุยืน ทนน้ำท่วม ทนแล้ง ทนแดด ทนฝน ต้นกึ่งเลื้อย ลำต้นเล็ก ไม่มีขน ใบเล็กเรียวยาว ใบดกอ่อนนุ่ม ทนน้ำท่วมขัง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทาน ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 5.0-7.0 ตัน/ไร่/ปี โปรตีนสูง 7-11 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับเป็นอาหารของ วัว ควาย แพะ ม้า แกะ กระต่าย สัตว์เลี้ยงทั่วๆไปทุกชนิด ควบคุม วัชพืชได้ดี รอบตัดสั้น 25-27 วัน ยิ่งตัด ยิ่งแตกกอ วิธีการปลูก ปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์ 250-300 kg/ไร่ ปรับระดับน้ำให้สูง 10-15 ซม.ปลูกง่าย โตไว การจัดการง่ายไม่ต้องใช้เครื่องสับ การใช้ประโยชน์ การตัดหญ้าไปใช้เลี้ยงสัตว์ ควรตัดหญ้าครั้งแรก 40 วันหลังปลูก และตัดครั้งต่อไปทุกๆ 25-27 วัน

โดยตัดสูงจากพื้น ดิน 5-10 เซนติเมตร การปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็มครั้งแรกควรปล่อย เมื่อหญ้าอายุ 60 วัน หญ้าไนล์เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงโค กระบือ ในรูปหญ้าสด หญ้าแห้ง หรือหญ้าหมัก เป็นพืชอาหารสัตว์ทางเลือก ให้เกษตรกรได้นำมาขยายในการเลี้ยงสัตว์หรือเพาะขยายพันธุ์เชิงการค้ายึดเป็นอาชีพเสริมรายได้ในเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และเกษตรกรทั่วไป สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครนายก โดยกลุ่มงานส่งเสริมและ พัฒนาการปศุสัตว์พร้อมให้คำแนะนำและประสานในการจัดหาท่อนพันธุ์ให้กับเกษตรกรผู้สนใจสามารถยื่นความประสงค์ได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครนายก ในวันเวลาราชการ

 

นพพร ชูทรัพย์ /สุนันทา เชิดผล / รายงาน

Related posts