นครปฐม – 150 ปี ชาตกาล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563 เวลา 09.00 น.ที่ผ่านมา คุณประภัสสร คุ้มสุวรรณ์ ประธานเครือข่ายส่งเสริมพระพุทธศาสนาประจำจังหวัดนครปฐมของสภาศิลปินส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยได้เป็นประธานในการจัดงาน อาจาริยา150ปี ชาตกาลพระอาจารย์ มั่น ภูริทัตโต โดยผู้แทนกรมการศาสนาและเลขาธิการสภาศิลปินฯอัญเชิญพระธาตุและเกศาพระอาจารย์มั่นมาประดิษฐานที่บ้านคุ้มสุวรรณ์ โดยพระเทพศาสนภิบาล รองเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ วันงานมีการแจกทุนการศึกษาให้เด็กนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์จำนวน 9 ทุนและเวลา18.15 ได้จัดกิจกรรม”สมาธิเพื่อสันติภาพและความยั่งยืน”ให้กับประชาชนทั่วไปและพนักงานบริษัทออเร้นท์แมทเทรสและวีวินเนอร์2003นั่งสมาธิพร้อมกับส่วนกลางและทั่วโลก ขออนุโมทนาบุญมาณ.โอกาสนี้
ในวันที่ 20 มกราคม 2563 เวลา 18.00 น. ครบรอบ 150 ปี ชาตกาล พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต “สมาธิเพื่อสันติภาพ และความยั่งยืน” ณ บ้านคุ้มสุวรรณ์ จังหวัดนครปฐม ชีวประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เดิมชื่อ เด็กชาย มั่น แก่นแก้ว บิดามารดาชื่อ นายคำด้วง-นางจันทร์ แก่นแก้ว เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ตรงกับวันแรม ๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในตระกูลชาวนา บิดามารดานับถือศาสนาพุทธ มีพี่น้องทั้งหมด ๙ คน
ได้เข้าบวชเณรตอนอายุ ๑๕ ปี และสึกออกมาตามคำขอของบิดาตอนอายุ ๑๗ ปีเพื่อช่วยงานทางบ้าน ต่อมาเมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ท่านได้บรรพชาอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดศรีทอง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๑๒ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้ฉายาว่า “ภูริทตฺโต” หลังอุปสมบทท่านได้ศึกษาในฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน (ธรรมยุต)กับท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ณ วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากนั้นท่านได้เข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดปทุมวนาราม และได้ศึกษาอบรมกับท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท)พ วัดบรมนิวาส
หลังจากนั้นท่านได้ออกฝึกปฏิบัติ “ธุดงคกรรมฐาน” ด้วยองค์ท่านเองตามลำพัง โดยธุดงค์ไปตามสถานที่ที่เป็นป่าเขา ถ้ำ เงื้อมผา ทางภาคเหนือ ภาคอีสาน บางครั้งท่านก็ธุดงค์ไปยังประเทศพม่า ลาว หลวงพระบางเป็นต้น ซึ่งในระหว่างธุดงค์ไปนั้น ก็มีคณะศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใสในข้อวัตรปฏิบัติขององค์ท่านได้ติดตามไปแบบห่างๆด้วย จนต่อมาพระสงฆ์เหล่านั้นได้เจริญงอกงามในธรรม จนกลายเป็นพระเกจิอาจารย์องค์สำคัญๆในเมืองไทย เป็นที่เคารพสักการะของพระมหากษัตริย์และประชาชนชาวไทยและประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างมากมาย
องค์ท่านได้อาศัยอยู่ตามป่าตามเขาตลอด ๕๗ ปีของการบรรพชา ในช่วงระยะ ๕ ปีที่ย่างเข้าวัยชรา จึงได้พำนักเป็นหลักแหล่ง ณ วัดป่าหนองเผือนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งช่วงนั้นท่านได้สั่งสอน อบรมศิษยานุศิษย์เป็นจำนวนมาก ชื่อเสียงล่ำลือไปทั่วมีประชาชนนับถือทั่วประเทศ จนกระทั่งท่านอาพาธหนักเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ และท่านได้มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๑๑ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ เวลา ๐๒ : ๒๓ น. และคณะศิษย์ได้ร่วมจัดงานประชุมเพลิงท่าน ณ วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที ๓๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ สิริรวมอายุได้ ๘๐ ปี
ว่าที่รต.ธนัท ชัชวาลย์ รายงาน
0931919324