จิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ชี้งบประมาณแบบ Zero-based budgeting ประเทศจะพบอุปสรรคค่อนข้างมาก และยังไม่มีประเทศไหนประสบความสำเร็จ

จิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ชี้งบประมาณแบบ Zero-based budgeting ประเทศจะพบอุปสรรคค่อนข้างมาก และยังไม่มีประเทศไหนประสบความสำเร็จ

 

เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยได้อภิปรายงบประมาณแบบ Zero-based budgeting เมื่อนำมาใช้กับประเทศจะพบอุปสรรคค่อนข้างมาก โดยนำรายงานผลการพิจารณาศึกษาเรื่อง รายงานผลการดำเนินการของคณะกรรมาธิการ รายไตรมาสที่ 1 (ตุลาคม – ธันวาคม) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

โดยนายจิตติพจน์กล่าวว่า จาการที่อ่านรายงานงบประมาณไทยสร้างสรรค์ประมาณ 85 หน้า ประเด็นแรกที่จะขออนุญาตแสดงความคิดเห็นก็คือ ขออนุญาตแสดงความชื่นชม ที่ประธานคณะกรรมาธิการและคณะกรรมการตลอดจนอนุกรรมาธิการ และคณะทำงานที่มีความตั้งใจที่จะทำงานอย่างจริงจังใน 3 เดือนแรก แต่ยังชี้ชัดไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดี เพราะการทำงานประกอบด้วยหลายๆพรรครวมๆกัน แต่ก็ได้วางแนวทางการทำงาน ที่มีลักษณะเฉพาะแล้ว และเปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งก็เป็นวิธีการทำงานแบบหนึ่ง อย่างไรก็ยังไม่สามารถสรุปผลงานที่ชัดเจนได้

ส่วนที่ 2 เรื่องของการปรับเปลี่ยนคณะกรรมาธิการ หรือคณะกรรมการ พยายามที่จะปรับเปลี่ยนวิธี หรือเสนอแนวทางให้กับรัฐบาล ในการจัดทำงบประมาณแบบฐานศูนย์ หรือ Zero-based budgeting ซึ่งการจัดทำงบประมาณในรูปแบบดังกล่าว จะเป็นวิธีการที่ดีในอุดมคติ แต่ว่าเมื่อนำมาใช้กับประเทศก็จะพบอุปสรรคค่อนข้างมาก ถ้าเป็นเรื่ององค์กรเอกชนที่ขนาดเล็กๆหรือขนาดกลางก็ไม่ยาก แต่ถ้าเป็นองค์กรเอกชนที่ใหญ่ๆ หรือประเทศ อุปสรรคก็จะทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ

ผมก็ได้มีโอกาสอ่านในรายงานของคณะกรรมาธิการ จากการสัมมนาครั้งที่ 1 จากการที่ ดร.สมชัย จิตสุชน ได้บอกว่างบประมาณฐานศูนย์ เป็นแนวคิดที่ริเริ่มในสหรัฐอเมริกา และยังไม่ได้ผลดีอย่างที่คาดเท่าไหร่ แต่มีข้อเสียทำยาก ทั้งเชิงเทคนิคและแรงจูงใจ ผู้ที่เกี่ยวข้องทำได้ยากในทางปฏิบัติ เพราะว่าระบบราชการของเป็นระบบที่ค่อนข้างที่จะใหญ่ และก็มีข้าราชการจำนวนมาก ระเบียบวิธีการก็ซับซ้อน วัฒนธรรมองค์กรจะทำให้ความพยายามที่จะทำ Zero-based budgeting มีปัญหาค่อนข้างมาก

อยากจะยกตัวอย่างข้อมูลปกติ งบประมาณถ้าตามตัวเลข ประเทศไทยจะมีประมาณ 20% ที่เป็นงบลงทุน ในส่วนที่ไม่ใช่งบลงทุน คิดว่าก็คงจะมาใช้งบประมาณฐานศูนย์ไม่ได้นะครับ โดยเฉพาะงบประมาณในเรื่องของบุคลากร 40% ก็ดี ส่วนนี้ก็คงจะไปแตะต้องอะไรไม่ได้ ในส่วนงบประมาณที่เกี่ยวกับการลงทุนประมาณ 20% ถ้าหากงบประมาณที่มีการผูกพันข้ามปี คิดไปคิดมาก็อาจจะเหลือปีประมาณ 4-5% แค่นั้น เพราะฉะนั้นในแง่ที่จะมีการทำงบประมาณฐานศูนย์ ทั้ง 3.48 ล้านล้านบาท ถ้าหากว่ามีการปรับโครงสร้างระบบของราชการ มีการปรับเรื่องระบบกฎหมาย มีการปรับวัฒนธรรมการทำงานในอนาคตระดับกลางมีความเป็นไปได้

แต่ในระยะสั้นน่าจะเป็นไปได้ยาก ถ้าจะทำจริงๆก็คงจะทำแค่ในส่วนงบประมาณจำนวนหนึ่งประมาณ 5% ของงบประมาณ ที่น่าจะมีความเป็นไปได้ แต่ก็อยากจะฝาก ยังมีวิธีการทำงานที่ง่ายกว่าด้วย ก่อนจะทำเรื่องของงบประมาณฐานศูนย์ โดยการปรับระบบวิธีงบประมาณปัจจุบัน เลือกโครงการที่เหมาะสมกับเศรษฐกิจประเทศไทย ทำอย่างไรที่จะให้งบประมาณที่เลือกแล้วนั้นดำเนินการไปแล้วมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล มีความรั่วไหลน้อยปราศจากการทุจริต หากทำได้แต่เพียงเท่านี้ เชื่อว่างบประมาณของไทย ก็จะมีการจัดการที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญแล้ว

“จึงไม่อยากจะให้ทางคณะกรรมการ ซึ่งผมก็ชื่นชมว่ามีความตั้งใจดี ไม่อยากจะให้โฟกัสไปแค่เรื่องของงบประมาณฐานศูนย์ การปรับปรุงโครงสร้างปัจจุบัน การทุบกำแพงบางส่วนออก การเจาะผนังบางส่วนออก การเปิดหน้าต่างบางส่วน แล้วทำให้ระบบงบประมาณดีขึ้น และสามารถทำได้เร็วกว่า ก็สามารถทำได้ทันทีไม่อยากจะให้โฟกัส หรือใช้ทุ่มเทความพยายามทั้งหมด ไปที่การทำงบประมาณฐานศูนย์อย่างเดียว ซึ่งก็เห็นแล้วนะครับว่าในต่างประเทศ คนที่ใช้ระบบงบประมาณฐานศูนย์นั้น ยังไม่เห็นว่ามีประเทศใดที่ใช้งบประมาณฐานศูนย์ แล้วประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่”

ภาพ/ข่าว น.ส.นภชนก เหมือนนามอญ บก.ชลนิวส์ทีวีออนไลน์ สัมภาษณ์ บริบูรณ์ บก.”ข่าวทั่วไทย”รายงาน 087-614-2444.

Related posts