แม่ฮ่องสอน-ประโยชน์อย่างคุ้มค่า การผันน้ำยวม เติม เขื่อนภูมิพล รองประธานคณะกรรมาธิการฯ ลงพื้นที่ติดตามปัญหาผลกระทบ ตรวจสภาพภูมิประเทศพื้นที่โครงการผันน้ำลงลุ่มน้ำเจ้าพระยา (ชมคลิป)

แม่ฮ่องสอน-ประโยชน์อย่างคุ้มค่า การผันน้ำยวม เติม เขื่อนภูมิพล รองประธานคณะกรรมาธิการฯ ลงพื้นที่ติดตามปัญหาผลกระทบ ตรวจสภาพภูมิประเทศพื้นที่โครงการผันน้ำลงลุ่มน้ำเจ้าพระยา

 

[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=L7oxHk9ebB4[/embedyt]

 

ณ บริเวณท่าเรือบ้านสบเงา สะพานรอยต่อระหว่างจังหวัดแม่ฮ่องสอน และ จังหวัดตาก  นายวีระกร คำประกอบ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อรับทราบข้อปัญหาและผลกระทบในการสร้างอุโมงค์ผันน้ำและตรวจภูมิประเทศ ณ.จุดสร้างเขื่อนกักน้ำบริเวณห้วยน้ำแดง บ.ท่าเรือ ม.8 ต.สบเมย อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน โดยได้ลงเรือลงตามลำน้ำเงาระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงบริเวณ ปากทางห้วยน้ำแดง

เพื่อดูสภาพภูมิประเทศจุดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการสร้างอ่างเก็บน้ำ หรือ สถานีทดน้ำ โดยมี นายชิดชนก สุขมงคล ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สาขาแม่สะเรียง พร้อมด้วย นายวิชัย ปินะสุ ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ นายชวลิต อภิหิรัญตระกูล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่เงา (เตรียมการ) ปกครองอำเภอสบเมย เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรสบเมย เจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 36 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแม่ฮ่องสอน เจ้าหน้าที่กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน 337 ตัวแทนภาคประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือรับฟังและชี้แจ้งผลกระทบปัญหาต่างๆ


ทั้งนี้ นายวีระกร คำประกอบ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร ระบุ ถึงการติดตามโครงการผันน้ำจากกลุ่มลุ่มน้ำสาละวิน น้ำยวม สู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา บริเวณสบเงา ที่คณะได้เดินทางมาดูสภาพภูมิประเทศและจุดที่ตั้งของสถานีอ่างกักเก็บน้ำหรือสถานีทดน้ำเพื่อสูบน้ำข้ามภูเขาสูง ประมาณ 170 เมตรขึ้นไปอ่างเก็บน้ำกว้างประมาณ 35 เมตร สูง 25 เมตร ไหลผ่านอุโมงค์กว้าง 8 เมตร ส่งน้ำความยาวรวม 60 กิโลเมตร. สำหรับการเติมน้ำเขื่อนภูมิพล ลักษณะของการผันน้ำนี้จะเป็นอุโมงค์ ผ่านภูเขา โดยเอาน้ำจากแม่น้ำ ไหลลงห้วยน้ำงูด ตำบลนาคอเรือ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

ก่อนไหลลงสู่เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำผันเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 1.700 ล้านลูกบาศน์เมตร /ปี ซึ่งการตั้งสถานีสูบน้ำนี้จึงเป็นความหวังของพี่น้องลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั้งหมดที่จะได้รับน้ำไปใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า แทนที่จะปล่อยลงสู่สาละวินอย่างเปล่าประโยชน์ กรณี พื้นที่ที่คาดว่าราษฏรจะได้รับผลกระทบ ประมาณ 40 ไร่ ราษฏร 4 ครอบครัวที่ซึ่งมีอาชีพทำไร่ โดยทางภาครัฐก็จะดำเนินการชดเชยตามระเบียบ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าโครางการผันน้ำจากกลุ่มลุ่มน้ำสาละวิน แม่น้ำยวม-แม่น้ำเมย สู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจะเกิดประโยชน์สูงสุดซึ่ง “โครงการเพิ่มน้ำต้นทุนเขื่อนภูมิพลใช้งบประมาณ 7 หมื่นล้านบาท ซึ่งหลังจากคณะได้เดินทางต่อไปยังพื้นที่ อ่างเก็บน้ำแม่ลาย อ.แม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ต่อ


ถาวร / สุกัลยา อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน 064-6266401

Related posts