ชุมพร – โครงการบริหารจัดการแผนงานด้วยระบบเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 5 (MI SFOR SUSTAINABLE ROAD SAFETY)
[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=ljPHwinUoKk[/embedyt]
วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม 2562 เวลา 14.30 น. นายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย ข้าราชการ หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ร่วมกิจกรรมโครงการบริหารจัดการแผนงานด้วยระบบเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 5 (MI SFOR SUSTAINABLE ROAD SAFETY) ณ ห้องทับทิม โรงแรมชุมพรการ์เดนส์ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
นายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า ในปีที่ผ่านมาได้ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในการจราจรด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ร่วมกันดำเนินมาตรการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนอย่างจริงจังเพื่อสร้างประเทศไทยให้เป็นเมืองปลอดภัย Safety Thailandโดยมุ่งเน้นดำเนินการแบบบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ทั้งฝ่ายพลเรือน ตำรวจ ทหาร ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ใช้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในลักษณะยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง (AreaApproach) และบังคับใช้กฎหมาย อย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ทั้งจากคน ยานพาหนะ ถนน และสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการนำนโยบาย “ประชารัฐ” มาเป็นกลไกหลักในการประสานความร่วมมือกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชน อาสาสมัครต่าง ๆ และประชาชน เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกด้านความปลอดภัยทางถนนให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนในพื้นที่อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง
ตลอดจนได้ขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.จังหวัด) ให้มีการประชุมเป็นประจำทุกเดือน เพื่อกำหนดมาตรการ ควบคุม กำกับ และติดตาม ผลการดำเนินงานในระดับพื้นที่อำเภอและท้องถิ่น ให้ขับเคลื่อนงานผ่านการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ (ศปถ.อำเภอ) และจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ศปถ. อปท.)ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม อาทิ ลดปัจจัยเสี่ยงในพื้นที่ ด้านถนน คน ยานพาหนะ และสภาพแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนให้ต่ำกว่า 21 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคนในปี พ.ศ. 2563 ตามกรอบเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติที่กำหนดให้ความปลอดภัยทางถนนเป็นวาระแห่งชาติ โดยต้องการลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อประชากรหนึ่งแสนคนลงร้อยละ 50 ภายในเวลา 10 ปี ตามแนวทาง 5 เสาหลัก ประกอบด้วย
แนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจังหวัด ชุมพรในปีต่อไปจะดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในการจราจรด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม โดยมุ่งเน้นดำเนินการแบบบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ใช้การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในลักษณะยึดพื้นที่เป็นตัวตั้ง (AreaApproach) และบังคับใช้กฎหมาย อย่างจริงจัง และต่อเนื่องขับเคลื่อนงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. 2554 ได้แก่ ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ (ศปถ.อำเภอ) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ศปถ.อปท.) ตลอดจนดำเนินงานตามแผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2561-2564 ซึ่งอยู่ระหว่างเสนอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี
ทั้งนี้แผนแม่บทดังกล่าวมากำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจังหวัด ดังนี้1. วิสัยทัศน์มุ่งมั่นสู่มาตรฐานการสัญจรด้วยความปลอดภัยด้วยกัน 2. พันธกิจ 2.1 เสริมสร้างสมรรถนะให้ระบบบริหารจัดการภาครัฐด้านความปลอดภัยทางถนนเพื่อให้เกิดการทำงานได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 2.2 ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคน พัฒนาความรู้ พัฒนามาตรฐาน และนวัตกรรมด้านความปลอดภัยทางถนน เพื่อลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน และลดภาวะของรัฐจากการสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ 2.3 ส่งเสริมให้เกิดรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการมีส่วนร่วมตามแนวทางประชารัฐ 3. ยุทธศาสตร์1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปฏิรูประบบการจัดการด้านความปลอดภัยทางถนน จังหวัดชุมพรได้จัดประชุมโครงการติดตามแผนการบริหารข้อมูลเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 4 (MIS FOR SUSTAINABLE ROAD SAFETY) เวทีถนนปลอดภัย 4.0ในวันนี้ ได้กำหนดกรอบแนวทางการจัดทำร่างแผนป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดชุมพร ปีงบประมาณ 2563 ดังนี้ 1. วิสัยทัศน์ มุ่งมั่นสู่มาตรฐานการสัญจรด้วยความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดชุมพร
2. เป้าหมายการดำเนินงาน บูรณาการขับเคลื่อนการดำเนินความปลอดภัยทางถนนในทุกระดับ ทุกภาคส่วน ทุกเครือข่าย 3. ยุทธศาสตร์ 1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปฏิรูประบบการจัดการด้านความปลอดภัยทางถนน
เป้าหมาย การปฏิรูประบบการจัดการด้านความปลอดภัยทางถนน กลยุทธ์ พัฒนาระบบข้อมูล/สถิติ การเกิดอุบัติเหตุ 3 ฐาน ระดับจังหวัด มาวิเคราะห์ชี้เป้าหาสาเหตุ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาในพื้นที่ อำเภอ/ตำบล หมู่บ้าน ร่วมกันกับภาคีเครือข่าย แผนงาน -จัดประชุมคณะทำงานวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการแก้ไข ประเมินติดตามผลระดับจังหวัดและระดับอำเภอ -จัดประชุม ศปถ.จังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น เป็นประจำทุกเดือน -งานป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ในระดับอำเภอ (D-RTI)“มุ่งสู่ตำบลขับขี่ปลอดภัย”อย่างยั่งยืน 2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืน เป้าหมายส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในสังคม กลยุทธ์ จัดทำแผนการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และกำหนดประเด็น การขับเคลื่อนนโยบายร่วมกัน แผนงาน -จัดทำข่าวประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อมวลชนทุกช่องทางเพื่อเผยแพร่นโยบายของรัฐบาลและจังหวัดให้ประชาชนรับทราบ -โครงการมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนนในสถานที่ราชการของจังหวัดชุมพร -โครงการนักเรียนรุ่นใหม่มีใบขับขี่ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๓ -โครงการสวมหมวกนิรภัย ลดเจ็บ ลดตาย ยกตำบล -โครงการรณรงค์ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นตัวอย่างที่ดีในการมีวินัยจราจร
“ปกครองท้องที่ วินัยดี ขับขี่ปลอดภัย” 3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 ประเทศไทยขนส่งทางถนนปลอดภัย 4.0 เป้าหมาย ยกระดับมาตรฐานสู่สากล สนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหา วางรากฐานสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน กลยุทธ์ – ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพยานพาหนะและระบบการให้บริการดำเนินการขนส่ง โดยสารสาธารณะ ให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น – พัฒนาโครงข่าย ปรับปรุงโครงสร้างถนนเพื่อนำไปสู่การลดปัจจัยต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน และพัฒนาระบบจัดการถนนที่เอื้อต่อความปลอดภัย ปรับปรุงถนนให้เกิดความปลอดภัย โดยการแก้ไขจุดเสี่ยงจุดอันตราย และพื้นที่อันตรายข้างทาง ด้วยมาตรการเชิงป้องกัน เพื่อชะลอก่อนถึงจุดเสี่ยง
– ประยุกต์ ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนและนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายที่เป็นธรรม แผนงาน – โครงการแก้ไขจุดเสี่ยง จุดอันตรายบนถนนสายหลัก สายรอง และท้องถิ่น – โครงการตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินงานของสถานตรวจสภาพรถ ผ่านระบบ กล้อง CCTV – โครงการติดตามการเดินรถผ่าน Web Application ของกรมการขนส่งทางบก(GPS) – โครงการตรวจจับความเร็วทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลและรถโดยสารสาธารณะ 4) ยุทธศาสตร์ที่ 4 ประชารัฐเพื่อถนนปลอดภัย เป้าหมาย ความปลอดภัยทางถนนเป็นหน้าที่ และความรับผิดชอบของทุกคน กลยุทธ์ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน แผนงาน-โครงการรักษ์ทาง-รักษ์ถิ่น จิตอาสา -โครงการการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ให้สามารถปฏิบัติการได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ให้คำแนะนำ หรือขอความร่วมมือผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎจราจร เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างยั่งยืน
ในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนได้มีการบูรณาการความร่วมมือป้องกันและลดอุบัติเหตุ ทางถนนอย่างต่อเนื่อง มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางถนนอย่างเป็นระบบ ควบคู่การลดปัจจัยเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งนี้ในภาคประชาชนขอให้ปฏิบัติตนตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินทั้งของตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกความปลอดภัย (Safety Mind) จะช่วยให้สังคมนั้นๆ มีวัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety Culture) นำไปสู่การขยายผลไปสู่สังคมโดยรอบต่อไป การสร้างจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนนให้กับประชาชน อาจใช้ทั้งหลักนิติรัฐ และนิติศาสตร์ ควบคู่กับการนำหลัก “ประชารัฐ” มาเป็นกลไกในการประสาน แสวงหาความร่วมมือในชุมชน หมู่บ้าน จะทำให้เกิดกติกาทางสังคมที่มีการตกลงร่วมกัน ซึ่งข้อตกลงหรือกติกาทางสังคมดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนไปตามบริบทแต่ละพื้นที่ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้รถใช้ถนนของชุมชนหรือสังคมนั้นๆ บนพี้นฐานความปลอดภัยอย่างยั่งยืนความปลอดภัยทางถนนเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ไม่มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งที่จะสามารถดำเนินการได้สำเร็จแต่เพียงหน่วยงานเดียว จึงขอเน้นย้ำว่า ความปลอดภัย ทางถนนทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน มีเป้าประสงค์ลดอุบัติเหตุทางถนนร่วมกัน เพื่อสร้างวัฒนธรรม ความปลอดภัยทางถนนอย่างยั่งยืน
ธนากร โกศลเมธี รายงาน ศูนย์ข่าวจังหวัดชุมพร 0818923514